วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

PRINCIPLE

PRINCIPLE


RHYTHM จังหวะ
ความหมายและลักษณะของจังหวะ
จังหวะ(Rhythm) เป็นคุณสมบัติประการหนึ่งในหลักการออกแบบ(Principal of Design)ของศาสตร์ทางด้านศิลปะ Rhythm คือการเคลื่อนที่หรือการเคลื่อนไหวของท่วงทำนองทางสายตาที่เป็นไปโดยธรรมชาติ โดยคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดที่ทำให้มนุษย์เกิดการรับรู้ในเรื่องของจังหวะคงจะได้แก่คุณสมบัติด้านการการซ้ำ(repetitive)นั่นเองของ การที่ทำให้เกิดจังหวะในงานศิลปะคือการซ้ำกันของมูลฐานทัศนศิลป์(Visual Element)อันได้แก่ เส้น สี รูปร่าง-รูปทรง พื้นผิว น้ำหนัก และบริเวณว่างนั่นเอง เมื่อเรานำมูลฐานทัศนศิลป์เหล่านี้มาจัดวางให้เกิดการซ้ำหรือการสลับกันอย่างต่อเนื่อง จะก่อให้เกิดจังหวะ ซึ่งจะสร้างให้เกิดการเคลื่อนที่ของสายตา(Eye Movement) กลุ่ม element ที่มีความสัมพันธ์กัน/เชื่อมโยงกัน(Related)จะเป็นสาเหตุให้สายตามีการเคลื่อนที่(Flow)ติดตาม Element เหล่านั้นอย่างเป็นไปโดยธรรมชาติ จาก Element หนึ่งไปสู่ Element อันอื่นๆทีละอันๆทีละขั้นๆตามลักษณะที่ element ถูกจัดซึ่งจะทำให้เกิดจังหวะทางการเห็น

คุณสมบัติด้านจังหวะนี้ไม่ได้มีอยู่เฉพาะแต่ในงานทัศนศิลป์อย่างเดียวเท่านั้น แต่คุณสมบัติด้านจังหวะยังมีปรากฏอยู่ในงานศิลปะ แขนงอื่นๆอีกด้วย เช่น ดนตรี กลอน และศิลปะการแสดงเป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานศิลปะประเภทดนตรี มนุษย์สามารถรับรู้ถึงจังหวะได้โดยไม่ต้องมีใครสอน เราจะสังเกตได้จากเด็กที่เริ่มพ้นวัยทารกแม้จะยังไม่รู้ความก็สามารถเต้นตามจังหวะเพลงที่มีจังหวะสนุกสนานเร้าใจได้ มีผู้กล่าวว่าจังหวะเป็นคำที่เกิดขึ้นในศาสตร์ทางด้านดนตรีและกวีนิพนธ์มาก่อน คุณสมบัติด้านจังหวะในงานประเภทดนตรีและกวีนิพนธ์ได้แก่ จังหวะของเสียงที่ สูง-ต่ำ หนัก-เบา เร็ว-ช้า นั่นเอง คำและดนตรีให้จังหวะของสัมผัสทางด้านเสียง การแต่งเพลงเป็นการควบคุมจังหวะการไหลอย่างต่อเนื่องของเสียงในกาลเวลา แต่ในงานออกแบบ/ทัศนศิลป์เป็นการซ้ำหรือการเคลื่อนไหลของรูปทรงในบริเวณว่าง เราพยายามที่จะใช้จังหวะของสัมผัสทางด้านการมองเห็นเพื่อเรียกร้องความสนใจของผู้รับ เนื่องจากงานออกแบบถือเป็นงานที่ต้องรับรู้โดยการมองหรือทัศนศิลป์นั่นเอง จังหวะสามารถก่อให้เกิดความรู้สึกต่างๆขึ้นในอารมณ์ของมนุษย์ จังหวะช้า-เร็วของดนตรีมีผลต่ออารมณ์มนุษย์เช่นดนตรีร็อค ดนตรีป๊อบ ดนตรีคลาสสิค ให้ความรู้สึกแก่ผู้ฟังที่แตกต่างต่างกันไป ทางด้านงานทัศนศิลป์ก็เช่นกัน การจัด element รูปแบบต่างๆอาจจะดึงดูดสายตาของผู้ดูให้ข้าม/กระโดดอย่างรวดเร็วหรือค่อยๆไล่ผ่านอย่างช้าๆนุ่มนวลจากสิ่งหนึ่งไปยังสิ่งที่อยู่ถัดไป สายตาของผู้ดูจะกระโดดอย่างรวดเร็วหากปะทะเข้ากับจังหวะของสีที่ฉูดฉาดที่ตัดกัน เส้นที่รวดเร็วตัดกันอย่างรุนแรง พื้นผิวที่หยาบ หรืออาจจะค่อยๆเคลื่อนที่อย่างช้าๆเมื่อพบกับการสลับกันของสีที่ทึบทึม เส้นที่อ่อนช้อย และพื้นผิวที่ราบเรียบนุ่มนวล อย่างแน่นอน

การนำจังหวะมาใช้ในงานออกแบบนั้นหากจังหวะมีการซ้ำกันอยู่เพียงรูปแบบเดียวอาจก่อให้เกิดความรู้สึกราบเรียบน่าเบื่อหน่ายแก่ผู้พบเห็นได้ ขอให้ท่านนึกถึงการเดินของเข็มนาฬิกาแต่ละวินาทีที่ต่อเนื่องกันไปหากดูหรือฟังไปนานๆอาจเกิดการเบื่อหน่ายแก่ผู้พบเห็นได้ หรือการตั้งเรียงกันของเสาไฟฟ้าแต่ละต้นๆซึ่งน้อยคนนักจะสามารถจ้องมองอยู่ได้นานๆโดยไม่เบื่อเสียก่อน ด้วยเหตุนี้ในการออกแบบจึงจำเป็นจะต้องใช้ความรู้ทางด้านองค์ประกอบทางด้านทัศนศิลป์ตัวอื่นๆเข้ามาประกอบ อาจจะเป็นในลักษณะของการคั่น การสลับสับหว่าง หรือการเบรคความซ้ำหรือซ้ำซากนั่นลงเสียบ้างเพื่อไม่ให้เกิดความน่าเบื่อ การสลับสับหว่างนี้อาจเกิดขึ้นจากการเว้น “บริเวณว่าง” หรือช่องไฟ การสลับสี,น้ำหนัก การลดทอน/ลดหลั่นของรูปร่าง รูปทรง การเปลี่ยนทิศทางของวัตถุ หรือการใช้พื้นผิวที่แตกต่างสลับกันไป เป็นต้น







UNITY เอกภาพ 

เอกภาพ  หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบศิลป์ทั้งด้านรูปลักษณะ 
และด้านเนื้อหาเรื่องราว  เป็นการประสานหรือจัดระเบียบของส่วนต่าง ๆ
ให้เกิดความเป็น หนึ่งเดียว เพื่อผลรวมอันไม่อาจแบ่งแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป 
การสร้างงานศิลปะ คือ  การสร้างเอกภาพขึ้นจากความสับสน  ความยุ่งเหยิง  เป็นการจัดระเบียบ 
และดุลยภาพ ให้แก่สิ่งที่ขัดแย้งกันเพื่อให้รวมตัวกันได้ โดยการเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆให้สัมพันธ์กัน
เอกภาพของงานศิลปะ มีอยู่  2 ประการ คือ

        1. เอกภาพของการแสดงออก หมายถึง การแสดงออกทีมีจุดมุ่งหมายเดียว แน่นอน และมี 
  ความเรียบง่าย  งานชิ้นเดียวจะแสดงออกหลายความคิด หลายอารมณ์ไม่ได้ จะทำให้สับสน 
  ขาดเอกภาพ  และการแสดงออกด้วยลักษณะเฉพาตัวของศิลปินแต่ละคน ก็สามารถทำให้ 
  เกิดเอกภาพแก่ผลงานได้




           2. เอกภาพของรูปทรง คือ การรวมตัวกันอย่างมีดุลยภาพ และมีระเบียบขององค์ประกอบ 
  ทางศิลปะ เพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงหนึ่ง ที่สามารถแสดงความคิดเห็นหรืออารมณ์ของศิลปิน 
  ออกได้อย่างชัดเจน เอกภาพของรูปทรง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อความงามของผลงานศิลปะ 
  เพราะเป็นสิ่งที่ศิลปินใช้เป็นสื่อในการแสดงออกถึงเรื่องราว  ความคิด และอารมณ์  ดังนั้น
  กฎเกณฑ์ในการสร้างเอกภาพในงานศิลปะเป็นกฎเกณฑ์เดียวกันกับธรรมชาติ




BALANCE ความสมดุล

ความสมดุล หรือ ดุลยภาพ หมายถึง น้ำหนักที่เท่ากันขององค์ประกอบ  ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง  
ในทางศิลปะยังรวมถึงความประสานกลมกลืน ความพอเหมาะพอดีของ ส่วนต่าง ๆ 
ในรูปทรงหนึ่ง หรืองานศิลปะชิ้นหนึ่ง การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ   ลงใน งานศิลปกรรมนั้น
จะต้องคำนึงถึงจุดศูนย์ถ่วง ในธรรมชาตินั้น   ทุกสิ่งสิ่งที่ทรงตัวอยู่ได้โดยไม่ล้มเพราะมีน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากันทุกด้าน
 ฉะนั้น  ในงานศิลปะถ้ามองดูแล้วรู้สึกว่าบางส่วนหนักไป แน่นไป  หรือ เบา  บางไป
ก็จะทำให้ภาพนั้นดูเอนเอียง   และเกิดความ รู้สึกไม่สมดุล เป็นการบกพร่องทางความงาม  
ดุลยภาพในงานศิลปะ มี  2 ลักษณะ คือ

         1. ดุลยภาพแบบสมมาตร (Symmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาเหมือนกัน 
  คือ การวางรูปทั้งสองข้างของแกนสมดุล    เป็นการสมดุลแบบธรรมชาติลักษณะแบบนี้ใน 
  ทางศิลปะมีใช้น้อย ส่วนมากจะใช้ในลวดลายตกแต่ง ในงานสถาปัตยกรรมบางแบบ หรือ 
  ในงานที่ต้องการดุลยภาพที่นิ่งและมั่นคงจริง ๆ 





          2. ดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เหมือน 
  กัน มักเป็นการสมดุลที่เกิดจาการจัดใหม่ของมนุษย์   ซึ่งมีลักษณะที่ทางซ้ายและขวาจะไม่ 
  เหมือนกัน ใช้องค์ประกอบที่ไม่เหมือนกัน  แต่มีความสมดุลกัน   อาจเป็นความสมดุลด้วย 
  น้ำหนักขององค์ประกอบ หรือสมดุลด้วยความรู้สึกก็ได้  การจัดองค์ประกอบให้เกิดความ 
  สมดุลแบบอสมมาตรอาจทำได้โดย    เลื่อนแกนสมดุลไปทางด้านที่มีน้ำหนักมากว่า   หรือ 
  เลื่อนรูปที่มีน้ำหนักมากว่าเข้าหาแกน  จะทำให้เกิดความสมดุลขึ้น หรือใช้หน่วยที่มีขนาด
  เล็กแต่มีรูปลักษณะที่น่าสนใจถ่วงดุลกับรูปลักษณะที่มีขนาดใหญ่แต่มีรูปแบบธรรมดา





CONTRAST ความแตกต่าง

ความหมายของความแตกต่างในทางทัศนศิลป์์

ความแตกต่างเป็นสิ่งที่พบเห็นได้โดยทั่วไป เป็นสิ่งปกติในธรรมชาติ เช่น ความสว่างและความมืด ความใหญ่และเล็ก ความหนาและบาง เป็นต้น.

แต่ในทางทัศนศิลป์ ความแตกต่าง หมายถึง ความขัดแย้ง (Opposition) ของ ส่วนประกอบมูลฐานที่อยู่ร่วมกัน (Juxtaposition) เช่น ขนาดใหญ่ / เล็ก, รูปร่างเหลี่ยม / มน, พื้นผิวหยาบ / ละเอียด ,น้ำหนักอ่อน / แก่ ,ทิศทางของเส้นตั้ง / นอน ,สีที่แตกต่างในวงล้อสี เช่น เขียว /แดง , น้ำเงิน / ส้ม เป็นต้น รวมทั้งความแตกต่างระหว่างส่วนประกอบมูลฐาน กับหลักการทัศนศิลป์ เพื่อสร้างให้ผลงานนั้น มีความงามเด่นชัด ช่วยเน้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในจุดสำคัญของการ ออกแบบ ให้เป็นจุดสน ใจขึ้น ทำให้ งานออกแบบนั้นมองดูไม่น่าเบื่อ ไม่ซ้ำซาก ไม่จำเจทำให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้างานออกแบบนั้น ขาดความแตกต่าง หรือ มีความกลมกลืนกันมากเกินไป ก็จะ ทำให้การออกแบบนั้นน่าเบื่อ ซ้ำซากจืดชืด ไม่น่าสนใจ แต่ก็มีข้อควรระวังในการ สร้างความแตกต่างก็คือ หากในงานทัศนศิลป์นั้น มีความแตกต่างมาก และอยู่อย่าง กระจัดกระจายแล้ว จะเป็นการทำลาย เอกภาพของงานศิลปะนั้น ฉนั้นการสร้างความแตกต่าง ย่อมอยู่ภายใต้ กฎเกณฑ์ของ เอกภาพ (Unity) ด้วย






HARMONY การกลมกลืน

ความหมายของความกลมกลืนในทางทัศนศิลป์์

ความกลมกลืน (Harmony)

โดยทั่วไป หมายถึงการประสานเข้าสนิทกัน กลมกลืน ปรองดอง สามัคคี ลงรอย ในทางทัศนศิลป์ ความกลมกลืน หมายถึง การรวมกันของ หน่วยย่อยต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ส่วนประกอบมูลฐาน ของศิลปะ คือได้แก่ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง สี พื้นผิว น้ำหนัก อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง และการจัดวางองค์ประกอบ เช่นจ้ังหวะ ช่องว่าง




EMPHASIS การเน้นย้ำ

  คือการทำให้เกิดจุดเด่นในงานออกแบบที่ดีนั้นจะต้องให้ความสำคัญแก่ส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ
          การเน้นจึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดความน่าสนใจและเพิ่มความงามและคุณค่าให้แก่
          งานออกแบบนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ 
                    1. เน้นจุดเด่นให้เหมาะกับประโยชน์ใช้สอย
                    2. เน้นให้เกิดความสวยงาม
                    3. เน้นเพื่อสื่อความหมาย
การเน้นความแตกต่าง (Emphasis by Contrast)
          กฏเกณฑ์ทั่วไปคือ จุดสนใจเป็นผลมาจากองค์ประกอบสิ่งหสึ่งสิ่งใดที่มีความแตกต่างออกไป
          จากสิ่งอื่นอะไรก็ตามที่มีขัดสายตาเวลามอง สิ่งนั้นเป็นการดึงดูดความสนใจด้วยความแปลก
          ของตัวเอง ซึ่งมีทางเป็นไปได้มากมายไม่รู้จบ
           การเน้นด้วยการขัดกันนั้นเกิดขึ้นเมื่อองค์ประกอบของภาพที่ขัดกับส่วนอื่นที่นำมาประกอบ
           สิ่งนั้นจะกลายเป็นจุดสนใจ สิ่งที่นำมาขัดกันนั้นจะเป็นรูปทรง เส้น สี น้ไหนักความเข้ม พื้นผิว 
           หรือขนาดก็ย่อมเกิดผลสำเร็จได้


จุดเด่น (Dominance)
หมายถึง จุดๆ หนึ่งที่สะดุดตาน่าสนใจ แปลกตา น่าทึ่ง อาจเกิดจากความขัดแย้งเพียงเล็กน้อย
และน่าสนใจกว่าส่วนที่เหลือขององค์ประกอบ ก่อนที่สายตาจะเคลื่อนไปยังจุดอื่นๆ 
(ธิดา ชมภูนิช,2526:45)
การจัดภาพ
ควรประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
1.จุดเด่น(Dominance) คือส่วนประธาน (Principle) ที่สะดุดตา น่าสนใจ เป็นหลักของภาพ
   ที่เป็นจุดสำคัญที่สุดของภาพ ซึ่งโดยมากจะอยู่ในระยะหน้าของภาพ แต่บางครั้งอาจจะ
   อยู่ในระยะกลาง
2. ส่วนประกอบรอง (Sub-Ordination) หมายถึง ส่วนประกอบที่มีความน่าสนใจรองลงมา 
   อาจแบ่งออกเป็น สองส่วนคือ
   2.1 จุดเด่นรอง (Sub-Dominance) หมายถึง จุดสนใจที่มีความสำคัญไม่มากนักแต่
        มีบทบาทเสริมให้จุดเด่นนั้นสะดุดตามากขึ้น หรือช่วยในการสร้างสมดุล หรือ
        บรรยากาศของภาพให้เป็นไปอย่างเหมาะสม โดยมักอยู่ในระยะกลาง(Middle Ground)
   2.2 ส่วนประกอบที่ทำหน้าที่เป็นพื้นหรือฉากหลัง(Back Ground) เป็นส่วนที่ประกอบ
        ที่มีความสำคัญน้อยที่สดุ แต่มีความสำคัญมากในการควบคุมบรรยากาศของภาพ
        ให้ประสานกลมกลืนกับจุดเด่นและจุดรองทำให้ภาพสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 
การออกแบบและการสร้างผลงานที่ประสบผลสำเร็จ 
มีหลักของการออกแบบเพื่อเน้นให้เกิดจุดเด่นควรคำนึงถึง
          1. จุดเด่น คือ ประธาน
          2. ส่วนประกอบรอง ได้แก่
                 2.1 จุดเด่นรอง
                 2.2 ฉากหลัง


วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

RETRO & HYBRID

RETRO

'เรโทร'  หมายถึงการหวนคืนสูอดีต ย้อนกลับไปวันวานยังหวานอยู่ ซึ้งมีความประทับใจไม่รู้ลืมเป็นความรู้ลึกๆ ในใจของผู้คนส่วนมาก และ เป็นการถ่ายทอดความรู้สึก ภูมิปัญญาจาก ปู่ ย่า ตา ยาย ผู้แก่ ผู้เฒ่า มาสู่ลูกหลานในปัจจุบัน

ความหมายแบบไทยๆ ของ 'เรโทร' เป็นการปรับแต่งคุณค่าในอดีตให้ผสมผสานกับความเป็นอยู่ปัจจุบันอย่างลงตัว ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขขึ้น

จากความรู้สิ่งนี้ ทำให้มีการเสนอ และ ตอบสนองในเชิงการตลาด มีหลายท่านนำมาใช้ต่อยอดทำมาหากิน 'แนวเรโทร' กันอย่างกว้างขวาง ยังมีแนวโน้มเกิดเป็นความนิยมขยายขึ้นตลอดเวลา อย่างที่หลายท่านได้พบเห็นกันตามสถานที่ต่างๆ มากมาย เช่น เพลินวาน-หัวหิน, ตลาดอัมพวา-แม่กลอง, ตลาดสามชุก-สุพรรณ, ตลาดน้ำ4ภาค-พัทยา, สีลมวิลเลจ-บางรัก-ซอยสวัสดี-สุวรรณภูมิ, รายการตลาดสดสนามเป้า-ช่อง5 เป็นต้น


* ในเชิงวิชาการตลาด 'เรโทร' ยังสามารถแบ่งออก 4 ประเภทใหญ่ๆ *
การทำตลาดแบบ ย้อนยุค ประยุกต์เทรนด์ใหม่นั้น เป็นแนวคิดทำตลาดโดยมองย้อนไปในอดีต ถึง กระแสนิยมเดิมๆ ว่า แบรนด์ ภาพยนตร์ รถยนต์รุ่นใด เพลงยุคไหน แฟชั่นยุคใดดัง แล้ว หาสาเหตุการดังของมัน เหตุปัจจัยของมันว่า มันดัง มันนิยมเพราะอะไร หนอ หาคุณค่าร่วม Core Value ตัวนั้นขึ้นมา แล้วนำมาทำตลาด ซึ่งแนวทางการทำตลาดแบบ Retro นี้ สามารถแยกวิธีการออก เป็น 4 ประเภท

•  Retro Retro คือการ เอาของดีในอดีต มาใช้ทั้งแท่ง ไม่ต้องเปลี่ยนแปลง หรือดัดแปลงมาก เช่น ผลิตภัณฑ์ที่เคยขายดี เป็นที่นิยมในอดีตนำมา ทำซ้ำ หรือ ก็อปปี้ใหม่ เช่นโฆษณา มาร์โบโล คาว์บอย นำกลับมาใช้อีกครั้ง หนังดังนำกลับมาทำซ้ำ ทำนองเพลงเก่ามาร้องซ้ำ ที่เปลี่ยนคือแค่ตัวแสดง นักร้องใหม่ เท่านั้น หรือ Levi 501 นำกลับมาใหม่อีกครั้ง ศาสตร์ ฮวงจุ้ย โหวงเฮ้ง นำมาใช้อีกครั้ง

•  Retro Nova มีการผสมผสาน รูปลักษณ์ และโครง เก่า แต่ใช้เทคโนโลยีใหม่ เช่น นาฬิกา TAG Heuer ทำให้หน้าตาย้อนยุคไป ปี คศ 1930 แต่กลไก เป็น ไมโคชิพ ที่เดินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ,วิทยุ ย้อนยุค โบราณปี 1950 ปุ่มปรับคลื่นวิทยุใหญ่ๆ แต่ ข้างในเป็นแผงวงจรชิพไฟฟ้าไม่ได้ใช้หลอดสุญญากาศ แบบวิทยุรุ่นเก่า มีช่องเสียบหูฟังสเตริโอ ที่เล่นเทป และ ซีดี

•  Retro Deluxe คือการผสมผสาน เรื่องเก่า (Past) กับเรื่องใหม่ (Present Trend) เข้าด้วยกัน ที่เรียก Hybrid ระหว่าง ดีไซน์เก่า กับใหม่ มาใช้ เช่น Star War แม้จะเป็นหนังอวกาศ แต่ พล๊อตเรื่องก็เน้นไปเรื่องเจ้าหญิง และอาณาจักร ดูแล้วเหมือนเรื่องราวเทพนิยายในอดีต แต่ได้ ผสมเรื่องแห่งอนาคต เข้าไป ตัวหนังสือภาษาอังกฤษที่ขึ้นมา ตอนไตเติ้ลหนังคือ ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว กาแลกซีที่ห่างไกลออกไป จากโลก ได้มีอาณาจักรแห่งหนึ่ง .......... ฟังแล้วคุ้นๆ เหมือนในเทพนิยาย แต่เทคนิค การถ่ายทำทันสมัย และผสมบรรยากาศ หรือบริบท แห่งอนาคต อวกาศ ดวงดาวเข้าไปให้ดูทันสมัย นี่และ จ้อส์ ลูกัส หรือหนังจีนที่ดัง เรื่องเจาะเวลาหาจินซี หนังไทยเรื่องทวิภพ ที่มีการย้อนยุคเก่ากับยุคปัจจุบันมาผสมกัน การ์ตูนญี่ปุ่น เรื่องเทพอสูรจิ้งจอกเงินพระเอก เป็นอสูรจิ้งจอก แต่งกายแบบซามูไรญี่ปุ่นในอดีต แต่นางเอกกับแต่งชุดนักศึกษาญี่ปุ่นในปัจจุบัน เป็นการผสมวัฒนธรรมเก่ากับใหม่เข้าด้วยกัน ผลิตภัณฑ์ก็เหมือนกัน การออกแบบที่ใช้ แบบที่สืบสานวัฒนธรรมไทย ผสมผสานกับ เทรนด์แฟชั่นหรือดีไซน์จากอิตาลี เช่น อัญมณี ตามราศีที่มีเรื่องราวย้อนจากความเชื่อมแต่ออกแบบเป็นทันสมัย แม้กระทั่ง รองเท้าฟุตบอล อาดิแดสรุ่นใหม่สีเทาอ่อน อุตส่าห์ใส่ มังกรเข้าไปที่รองเท้า ซี่งมังกรเป็นสัตว์ในความเชื่อโบราณของจีน

•  Retro Futurism แนวนี้เป็นที่นิยมในหมู่นักออกแบบรุ่นใหม่ ที่ย้อนเวลาเจาะเทรนด์ในอดีต กระแสนิยมดั่งเดิม Past ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร แล้วหาตัวแปรร่วม Core Value ในขณะเดียวกันก็พยากรณ์กระแส แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไป 3-5 ปีข้างหน้า (Future) แล้ว เอาของเก่า ผสมกับความคิดแห่งอนาคต ดังนั้นจะมีการทำวิจัย ย้อนไปในอดีตถึงกระแสในอดีต ที่มาของความนิยมเก่าๆ และการวิจัยวิเคราะห์ แนวโน้มในอนาคตข้างหน้า แล้วนำมาหาตัวแปรร่วม ออกมา เช่น การวิจัยว่าโฟลค์เฒ่ามีอะไรดี พบว่า มี เรื่อง ซื่อสัตย์ เรียบง่าย ประหยัด และเป็นรถคันแรกของคนรุ่นใหม่ในตอนนั้น ที่ต้องการแหวกกฎไม่ขับรถคันโต พวกนี้ต้องการความต่าง ไม่ต้องการเหมือนใคร จากการวิจัยผู้บริ โภคพบว่า วงกลมได้สื่อถึงความเรียบง่ายอย่างชัดเจน รถยนต์ที่ออกมาใหม่จึงมีส่วนโค้งมนเป็นวงกลม ทั้ง หลังคา ที่บังโคลนรถ กระโปรงหน้ารถ และท้ายรถโค้งวงกลม และโฆษณา ก็เน้นย้ำ รถสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความแตกต่าง หรือกบฏ จากของพื้นๆทั่วๆไป แนวทางนี้ถือเป็นแนวทางที่นักออกแบบชั้นนำของโลกใช้ทำมาหากินอยู่

ท่านจะเห็นได้คำว่า 'เรโทร' มีความหมายที่กว้างทั้งในความรู้สึก และ ในเชิงวิชาการ จึงขอให้นิยามสั้นๆ

                                                                   เรโทร   คือ  ' การย้อนคืนอดีต '










HYBRID

 ในความหมายดั้งเดิมสำหรับ Hybrid Marketing ยุทธศาสตร์ Hybrid Marketing จะหมายถึง การทำการตลาดเพื่อสื่อสารข้อมูลการตลาดของ Brand ถึงผู้บริโภคในลักษณะของการผสมผสานรูปแบบOffline เช่น สื่อสารผ่านทีวี หนังสือพิมพ์ เข้ากับ Online คือ อินเตอร์เน็ต เท่านั้น การวางยุทธศาสตร์องค์กรธุรกิจแบบ Hybrid เป็น Hybrid Company ก็เป็นไปเพื่อตอบสนองการดำเนินการดังกล่าว นั่นเป็นรูปแบบของ Hybrid Marketing ที่เกิดตั้งแต่สิบกว่าปีมาแล้ว
แต่ในปัจจุบันและอนาคต ความหมายของยุทธศาสตร์แบบ Hybrid Marketing ครอบคลุมกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการตลาดทุกด้าน ตั้งแต่เทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ รูปแบบของกลยุทธ์ในการให้บริการ จนถึงพฤติกรรมผู้บริโภค
การกำหนดยุทธศาสตร์ Hybrid Marketing อาจจัดแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆคือ
            1  Hybrid ในเชิงกลยุทธ และยุทธศาสตร์องค์กร การมุ่งตอบสนองความพอใจสูงสุดของผู้บริโภค โดยใช้กลยุทธ์ลูกผสม มีหลากหลายรูปแบบ เช่น การใส่ร้านกาแฟ Starbucks  ไว้ในพื้นที่ให้บริการลูกค้าของสาขาธนาคารกสิกรไทย  การที่ค่ายเพลงแกรมมี่นำเบิร์ดและเสก มาร่วมกันสร้างเป็นแนวเพลงใหม่ เพื่อขยายฐานกลุ่มลูกค้าและเพิ่มยอดขายให้กับอัลบั้ม, การสร้างภาพยนตร์ที่ผสมวัฒนธรรมตะวันตกเข้ากับตะวันออก, การสร้างโรงภาพยนตร์ที่เป็นห้องคาราโอเกะในตัว อย่าง D-Cine ของค่ายอีจีวี, การทำการตลาดลูกผสม Offline+Online, การใช้ช่องทางการตลาดแบบธรรมดาผสมกับช่องทางขายตรง เช่น การที่บริษัทฟิลิปส์ ที่เริ่มใช้ช่องทางขายตรงของแอมเวย์ในการขายสินค้าบางชนิดและบางรุ่น  การนำเพลงสไตล์ร็อกผสมกับเพลงป๊อป เป็นแนวเพลงใหม่เพื่อขยายตลาด ฯลฯ
            การ Hybrid ในเชิงยุทธศาสตร์องค์กร ส่งผลให้เกิดธุรกิจลูกผสมสายพันธ์ใหม่  เช่น การผสมผสานของร้านอาหารในรูปแบบฟาสต์ฟู้ดเข้ากับรูปแบบภัตตาคาร อย่าง เชสเตอร์กริลล์ ชิกเก้น เคเอฟซี เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป, หรืออย่างที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้คือธุรกิจที่เกิดจากพัฒนาการของเทคโนโลยีระดับนาโนที่จะเปลี่ยนโครงสร้างตลาดเดิมทั้งหมด
            2 Hybrid ในเชิงเทคโนโลยี  ที่ปัจจุบันเกิดขึ้นมากเพราะพัฒนาการที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสำคัญสี่ชนิดคือ เทคโนโลยีดิจิตอล (Digitaltech) นาโนเทคโนโลยี (Nonotech) เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotech) และเทคโนโลยีโลหะและวัสดุศาสตร์ (Mtech-Metal & Material Technology) การผสมผสานของเทคโนโลยีทั้ง 4 นี้ ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ตลาดใหม่ ที่มาทำลายผลิตภัณฑ์เดิมให้หมดไปจากตลาด          
เฉพาะความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิตอล ก็สามารถทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ลูกผสม (Hybrid) ที่หลากหลาย เช่น เกิดการรวมกันของผลิตภัณฑ์สองกลุ่ม คือกลุ่มเอวี ได้แก่ทีวีและเครื่องเสียง เข้ากับกลุ่มไอที คือคอมพิวเตอร์ เป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มใหม่ ตลาดใหม่ เรียกว่า เอวี/ไอที ที่กำลังค่อยๆทำลายผลิตภัณฑ์เดิม ตลาดเดิมให้หมดไป, การเกิดของ Camera Phone, การเกิดของกล้องวิดีโอดิจิตอลที่สามารถถ่ายภาพนิ่งแบบกล้องถ่ายภาพนิ่งดิจิตอลได้ ในระดับความละเอียดของภาพที่พอๆกับกล้องถ่ายภาพนิ่งดิจิตอลเดี่ยวประสิทธิภาพสูง อย่างเช่น กล้องวิดีโอดิจิตอลของซัมซุงรุ่น VP-D60501 เป็นกล้องวิดีโอดิจิตอลระดับไฮเอนด์ที่สามารถถ่ายภาพนิ่งดิจิตอลด้วยความละเอียดของภาพสูงถึง 5 ล้านพิกเซล การเกิดของกล้องวิดีโอรุ่นนี้จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดกล้องวิดีโอและกล้องดิจิตอลในอนาคตอย่างแน่นอน ฯลฯ
            และเมื่อเทคโนโลยีดิจิตอล ผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีสำคัญอีก 3 ชนิด คือนาโนเทค ไบโอเทค และเทคโนโลยีโลหะและวัสดุศาสตร์ จะยิ่งเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สนองตอบความต้องการของผู้บริโภคได้เกินกว่าการรับรู้ของผู้คนในวันนี้จะคาดคำนวณได้ทั้งหมด
            ที่เกิดขึ้นแล้ว และออกสู่ตลาดแล้วอย่างเห็นได้ชัดกับโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ของอินเทล ทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ เกิดสินค้าลูกผสมพันธุ์ใหม่ของกลุ่มไอที ที่จะส่งผลสะเทือนของต่อตลาดทีวีและเครื่องเสียงอย่างรุนแรงในอนาคตอันใกล้ คือโปรเซสเซอร์ที่มีชื่อรหัสว่า แกรนท์สเดล และอัลเดอร์วู้ด
            อินเทลได้ใช้เทคโนโลยีระดับนาโนสร้างโปรเซสเซอร์ที่มีขนาดเล็กเพียง 90 นาโนเมตร แต่เป็นโปรเซสเซอร์ที่รวมเอาคุณสมบัติของการแสดงภาพระดับ Hi-Definition (HD) แบบเดียวกับ HDTV และคุณภาพเสียงรอบทิศทางแบบดอลบี้ 7.1 แชนเนล ที่เป็นคุณภาพเสียงระดับเครื่องเล่นโฮมเธียเตอร์ คุณภาพสูง
ด้วยโปรเซสเซอร์สายพันธุ์ใหม่ที่เป็นลูกผสมคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์กับโฮมเธียเตอร์แบบไฮเอนด์ จะทำให้เกิดคอมพิวเตอร์สายพันธ์ใหม่ที่จะเป็นคู่แข่งกับผลิตภัณฑ์กลุ่มโฮมเธียเตอร์ของค่ายเอวี เป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถเล่นภาพและเสียงแบบโฮมเธียเตอร์ประสิทธิภาพสูงได้  ทำให้คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์เหนือกว่าโฮมเธียเตอร์ของกลุ่มสินค้าเอวีทั่วไปมาก  จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาดสินค้ากลุ่มโฮมเธียเตอร์ในอนาคต
            การรวมกันของเทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีโลหะและวัสดุศาสตร์ และไบโอเทคโนโลยี ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ออกสู่ตลาดแล้วหลายชนิด เช่น เครื่องสำอาง SK-II ของพีแอนด์จี ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงตลาดเกี่ยวกับเครื่องสำอางบำรุงผิวในอนาคตแน่นอน เพราะเอสเคทูสามารถซึมลึกเข้าไปบำรุงผิวได้ดีกว่าเครื่องสำอางบำรุงผิวที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีนาโนมาก  ลอรีอัลก็มีการวางตลาดเครื่องสำอางบำรุงผิวที่ผลิตโดยใช้นาโนเทค ผสมผสานกับเอ็มเทค และไบโอเทคออกสู่ตลาดในไทยแล้วเช่นกัน ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอยู่ในกลุ่มสกินแคร์ที่ใช้ลบเลือนริ้วรอยชื่อ REVITALIFT
ปัญหาน้ำมันราคาแพงขึ้น ปัญหามลภาวะ ทำให้เกิดเครื่องยนต์ Hybrid ลูกผสมเครื่องยนต์ใช้แก๊สกับไฟฟ้า รถใช้เครื่องยนต์ไฮบริดอย่างโตโยต้า พรีอุส ขายมา 6 ปี ถึงปัจจุบันเป็นรุ่นที่สองแล้ว ทำยอดขายไปแล้วประมาณครึ่งล้านคัน
ความแออัดของการจราจรบนท้องถนน จนทำให้ในช่วงเวลาเร่งด่วน ถนนแทบจะเป็นที่จอดรถ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองใหญ่ของทุกประเทศทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะในกรุงเทพ ทำให้เกิดยานพาหนะHybrid เป็นลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ของรถยนต์ และเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่ง เรียกว่า Skycar ซึ่งผลิตโดยบริษัทมอลเลอร์ เป็นรถยนต์ที่สามารถวิ่งบนถนนได้โดยกินพื้นที่เท่ากับช่องจราจรหนึ่งช่องของรถยนต์ทั่วไป และสามารถบินขึ้นสู่อากาศได้ในลักษณะของเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่งในเวลาอันรวดเร็ว และบินได้ด้วยความเร็วสูงพอๆกับเครื่องบินธรรมดา
Skycar ใช้เครื่องยนต์โรตารี่ 4 เครื่องยนต์ เป็นเครื่องยนต์ที่มีน้ำหนักเบา แต่ให้พลังขับเคลื่อนสูงSkycar รุ่นแรก M-400 บรรทุกผู้โดยสารได้ 4 คนกำลังจะวางตลาดในอีกประมาณไม่เกินสองปี ขณะที่ยานต้นแบบได้ออกทดลองแล้ว และประสบความสำเร็จด้วยดี
            3  Hybrid ในเชิงวัฒนธรรม  โลกที่นับวันจะแคบลงเป็นโลกไร้พรมแดน การสื่อสารในรูปแบบของความบันเทิงและสาระต่างๆสามารถรับชมจากซีกโลกหนึ่งสามารถทำให้อีกซีกโลกหนึ่งรับรู้ได้ในเวลาอันรวดเร็วเท่าความเร็วแสง การสร้างสัมพันธ์ระหว่างชนต่างเชื้อชาติทั้งในรูปแบบของการเป็นเพื่อน และการเป็นครอบครัวเกิดขึ้นเร็วกว่าการผสมผสานเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นเมื่อพันกว่าปีก่อนเป็นล้านเท่า ทำให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม (Cross-cultural) เป็นลูกผสม (Hybrid) วัฒนธรรมใหม่ที่กลมกลืน เช่น คนญี่ปุ่นปัจจุบัน ที่มีวิถีชีวิตสมัยใหม่แบบอเมริกันแต่ก็ยังมีเอกลักษณ์ของความเป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่นผสมอยู่ในลักษณะที่เข้มข้น คนญี่ปุ่นแต่งสากลไปทำงานในสำนักงานและเครื่องมือเครื่องใช้แบบตะวันตก แต่ก็มีปรัชญาดำเนินชีวิตตามลัทธิชินโตและมีวิธีการจัดการธุรกิจที่ผสมผสานลัทธิบูชิโดอยู่ เป็นพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของลูกผสมสายพันธุ์ใหม่อย่างชัดเจน
            ความเข้มข้นของวัฒนธรรมญี่ปุ่นทำให้ญี่ปุ่นไม่ใช่เพียงผู้รับวัฒนธรรมจากตะวันตกโดยเฉพาะอเมริกาเท่านั้น ญี่ปุ่นยังเป็นผู้ส่งออกวัฒนธรรมของตนไปยังภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ทั้ง เอเชีย อเมริกา และยุโรปด้วย เช่นกัน เช่น วัฒนธรรมการร้องคาราโอเกะ วัฒนธรรมการแต่งตัวที่แม้จะเป็นแบบตะวันตก แต่ก็เป็นสไตล์ญี่ปุ่นโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น วัฒนธรรมเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ ยูโด คาราเต้ ไอคิโด วัฒนธรรมบันเทิง อย่างวิดีโอเกม การ์ตูน ของเล่น ที่ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมสูงมากในกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ในอเมริกา
            การผสมผสานทางวัฒนธรรมที่ต่างกัน ยังทำให้เกิดภาษาพูด Hybrid เป็นลูกผสมของภาษาท้องถิ่นกับภาษาอังกฤษ ซึ่งในปัจจุบัน ภาษาท้องถิ่นของแต่ละประเทศจะมีการผสมผสานภาษาอังกฤษเข้าไป เพราะความจำเป็นที่ต้องใช้ เนื่องจากการพูดคุยถึงธุรกิจสมัยใหม่ แม้คนในชาติเดียวกัน ใช้ภาษาเดียวกัน ก็มีภาษาอังกฤษสอดแทรกทั้งสิ้น เพราะวิชาการการจัดการธุรกิจสมัยใหม่ ต้นกำเนิดเป็นภาษาอังกฤษ และศัพท์วิชาการจำนวนมาก ที่ไม่สามารถใช้ภาษาท้องถิ่นของแต่ละประเทศอธิบายได้ การผสมภาษาอังกฤษในภาษาท้องถิ่นนี้ ไม่เว้นแม้ในภาษาญี่ปุ่น ที่เป็นหนึ่งในผู้นำด้านวัฒนธรรม ก็มีการผสมภาษาอังกฤษในระหว่างการพูดคุยเสมอ
ในสิงคโปร์ มีการบัญญัติศัพท์เรียกภาษาจีนแบบสิงคโปร์ที่เป็นลูกผสมอังกฤษใหม่ว่า Singlishภาษาไทยก็เห็นชัดเช่นกัน เมื่อพูดคุยกันในเรื่องเกี่ยวกับการจัดการสมัยใหม่ ก็ต้องมีภาษาอังกฤษเข้าไปผสมอยู่ไม่น้อย เพราะถ้าแปลเป็นภาษาไทยแล้ว จะทำให้ความหมายเพี้ยนไปจนสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง นี่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก หรือน่ากลัวแต่อย่างใด ในอดีตภาษาลูกผสมที่เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรม  ก็เกิดมาแล้วเป็นพันปี ในแผ่นดินที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเผ่าชนที่ต่างกันสูง เช่น ไทย ภาษาไทยปัจจุบัน มีการผสมผสานกันของภาษาท้องถิ่น ภาษาสันสกฤต บาลี ของอินเดีย รวมทั้งภาษาขอม ภาษาญี่ปุ่น ก็มีลูกผสมภาษาท้องถิ่นกับภาษาจีน ฯลฯ
            การเกิดของวัฒนธรรมลูกผสมเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค
            การผสมผสานทางวัฒนธรรมในด้านของการผสมของผู้คนต่างเผ่าพันธุ์ ทำให้เกิดลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ อย่างวงการบันเทิงไทย ดาราที่เป็นลูกผสมไทยกับอเมริกัน หรืออังกฤษ หรือต่างชาติอื่น กำลังได้รับความนิยม เพราะดาราเหล่านี้จะมีลักษณะเด่นในเรื่องหน้าตา บุคลิก การใช้ภาษา
            4  Hybrid เชิงพฤติกรรม สาเหตุหนึ่งย่อมมาจากในข้อที่ 3 คือ การ Hybrid เชิงวัฒนธรรม ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ทั้งวิถีชีวิตและการบริโภค เป็นผู้บริโภคลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ที่มีวิถีชีวิตต่างจากผู้บริโภคในวัฒนธรรมเดิม อย่างเช่น คนญี่ปุ่นแต่งชุดสากลทำงานแบบคนอเมริกัน แต่ยังกินอาหารญี่ปุ่นด้วยตะเกียบ กินเหล้าสาเก หรืออย่างสาววัยรุ่นของญี่ปุ่นที่แต่งตัวแบบตะวันตก นิยมใส่กระโปรงบานสั้นถุงเท้ายาว ฯลฯ
            Hybrid ทั้ง 4 ทำให้เกิดยุทธศาสตร์ Hybrid Marketing ส่งผลโดยตรงต่อการเกิดผลิตภัณฑ์สายพันธุ์ใหม่ สมรภูมิการตลาดใหม่ สงครามใหม่






จัดทำโดย  นางสาวอัจจิมา  จันทร์อำรุง
5311310428



VPAT

หัวข้อหลัก

หัวข้อที่ 1 
ตัวแปรต้น   : ออกแบบ หนังสั้น Stop Motion
ตัวแปรตาม : ทำหนังสั้น Stop Motion เรื่องรักประเทศไทย

 ตัวอย่าง
Gulp. The world's largest stop-motion animation set, shot on a Nokia N8.




ประชากร : คนทั่วไป
พื้นที่ : กรมสรรพากร
เวลา : ปี พ.ศ. 2556 -2559




-----------------------------------------------------------------------------------------------

หัวข้อรอง

หัวข้อที่ 2
ตัวแปรต้น  : หนังสั้นแบบการตูน
ตัวแปรตาม  : หนังสั้นแบบการ์ตูน ให้กำลังใจ

ตัวอย่าง
เพลง ราตรีสวัสดิ์
 


ประชากร : คนทั่วไป
พื้นที่ : กรมสรรพากร
เวลา : ปี พ.ศ. 2556 -2559



-------------------------------------------------------------------------------------------------

หัวข้อที่ 3

ตัวแปรต้น   : การ์ตูนสั้น Animation
ตัวแปรตาม : นิทานสำหรับเด็ก

ตัวอย่าง
ลมกับพระอาทิตย์



ประชากร : เด็กอนุบาล 
พื้นที่ : โรงเนียนอนุบาลจันทรเกษม
เวลา : ปี พ.ศ. 2556 -2559



---------------------------------------------------------------------------------------------

หัวข้อที่ 4

ตัวแปรต้น   : ออกแบบหนังสั้น
ตัวแปรตาม : ออกแบบหนังสั้น สื่่อถึงความรักในวัยเรียน 
  
ตัวอย่าง
"หนังสั้น" จูบแรกแทกใจ




ประชากร : คนทั่วไป
พื้นที่ : กรมสรรพากร
เวลา : ปี พ.ศ. 2556 -2559



วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

About Me


About Me


นางสาว อัจจิมา จันทร์อำรุง รหัสนักศึกษา 5311310428
สาขา  ออกแบบนิเทศศิลป์  ภาควิชา ศิลปกรรม
คณะ มนุษยศาสตร์และสัมคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม




Web นี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิขัยด้านการออกแบบนิเทศศิลป์
ผู้สอน อาจารย์ จารุณี เนตรบุตร

การตั้งชื่องานวิจัย


V = VARIABLE
ตัวแปรต้น : PRODUCT
ตัสแปนตาม : DESIGN
P=POPULATION
ประชากร : N ->กลุ่มตัวอย่าง
A= AREA
T= ช่วงเวลา




1.ความหมายของหนังสั้น

หนังสั้น คือ หนังยาวที่สั้น ก็คือการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงที่มีประเด็นเดียวสั้น ๆ แต่ได้ใจความ
ศิลปะการเล่าเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นนิทาน นิยาย ละคร หรือภาพยนตร์ ล้วนแล้วแต่มีรากฐานแบบเดียวกัน นั่นคือ การเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นของมนุษย์หรือสัตว์ หรือแม้แต่อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด ณ สถานที่ใดที่หนึ่งเสมอ ฉะนั้น องค์ประกอบที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ตัวละคร สถานที่ และเวลา
สิ่งที่สำคัญในการเขียนบทหนังสั้นก็คือ การเริ่มค้นหาวัตถุดิบหรือแรงบันดาลใจให้ได้ ว่าเราอยากจะพูด จะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับอะไร ตัวเราเองมีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างไร ซึ่งแรงบันดาลใจในการเขียนบทที่เราสามารถนำมาใช้ได้ก็คือ ตัวละคร แนวความคิด และเหตุการณ์ และควรจะมองหาวัตถุดิบในการสร้างเรื่องให้แคบอยู่ในสิ่งที่เรารู้สึก รู้จริง เพราะคนทำหนังสั้นส่วนใหญ่ มักจะทำเรื่องที่ไกลตัวหรือไม่ก็ไกลเกินไปจนทำให้เราไม่สามารถจำกัดขอบเขตได้
เมื่อเราได้เรื่องที่จะเขียนแล้วเราก็ต้องนำเรื่องราวที่ได้มาเขียน Plot (โครงเรื่อง) ว่าใคร ทำอะไร กับใคร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร เพราะอะไร และได้ผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ข้อมูล หรือวัตถุดิบที่เรามีอยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนว่ามีแนวคิดมุมมองต่อชีวิตคนอย่างไร เพราะความเข้าใจในมนุษย์ ยิ่งเราเข้าใจมากเท่าไร เราก็ยิ่งทำหนังได้ลึกมากขึ้นเท่านั้น
และเมื่อเราได้เรื่อง ได้โครงเรื่องมาเรียบร้อยแล้ว เราก็นำมาเป็นรายละเอียดของฉาก ว่ามีกี่ฉากในแต่ละฉากมีรายละเอียดอะไรบ้าง เช่นมีใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ไปเรื่อย ๆ จนจบเรื่อง ซึ่งความจริงแล้วขั้นตอนการเขียนบทไม่ได้มีอะไรยุ่งยากมากมาย เพราะมีการกำหนดเป็นแบบแผนไว้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ยาก มาก ๆ ก็คือกระบวนการคิด ว่าคิดอย่างไรให้ลึกซึ้ง คิดอย่างไรให้สมเหตุสมผล ซึ่งวิธีคิดเหล่านี้ไม่มีใครสอนกันได้ทุกคน ต้องค้นหาวิธีลองผิดลองถูก จนกระทั่ง ค้นพบวิธีคิดของตัวเอง การเตรียมการและการเขียนบทภาพยนตร์ การเขียนบทภาพยนตร์เริ่มต้นที่ไหน เป็นคำถามที่มักจะได้ยินเสมอสำหรับผู้ที่เริ่มหัดเขียนบทภาพยนตร์ใหม่ ๆ เช่น ควรเริ่มช็อตแรก เห็นยานอวกาศลำใหญ่แล่นเข้ามาขอบเฟรมบนแล้วเลยไปสู่แกแล็กซี่เบื้องหน้าเพื่อให้เห็นความยิ่งใหญ่ของจักรวาล หรือเริ่มต้นด้วยรถที่ขับไล่ล่ากันกลางเมืองเพื่อสร้างความตื่นเต้นดี หรือเริ่มต้นด้วยความเงียบมีเสียงหัวใจเต้นตึกตัก ๆ ดี หรือเริ่มต้นด้วยความฝันหรือเริ่มต้นที่ตัวละครหรือเหตุการณ์ดี เหล่านี้เป็นต้น บางคนบอกว่ามีโครงเรื่องดี ๆ แต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไรการเริ่มต้นเขียนบทภาพยนตร์ เราต้องมีเป้าหมายหลักหรือเนื้อหาเป็นจุดเริ่มต้นการเขียน เราเรียกว่าประเด็น (Subject) ของเรื่อง ที่ต้องชัดเจนแน่นอน มีตัวละครและแอ็คชั่น ดังนั้น นักเขียนควรเริ่มต้นจากจุดนี้พร้อมด้วยโครงสร้าง (Structure) ของบทภาพยนตร์ประเด็นอาจเป็นสิ่งที่ง่าย ๆ เช่น มนุษย์ต่างดาวเข้ามาเยือนโลกแล้วพลัดพลาดจากยานอวกาศของตน ไม่สามารถกลับดวงดาวของตัวเองได้ จนกระทั่งมีเด็ก ๆ ไปพบเข้าจึงกลายเป็นเพื่อนรักกัน และช่วยพาหลบหนีจากอันตรายกลับไปยังยานของตนได้ นี่คือเรื่อง E.T. – The Extra-Terrestrial (1982) หรือประเด็นเป็นเรื่องของนักมวยแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทที่สูญเสียตำแหน่งและต้องการเอากลับคืนมา คือเรื่อง Rocky III หรือนักโบราณคดีค้นพบโบราณวัตถุสำคัญที่หายไปหลายศตวรรษ คือเรื่อง Raider of the Lost Ark (1981) เป็นต้นการคิดประเด็นของเรื่องในบทภาพยนตร์ของเราว่าคืออะไร ให้กรองแนวความคิดจนเหลือจุดที่สำคัญมุ่งไปที่ตัวละครและแอ็คชั่น แล้วเขียนให้ได้สัก 2-3 ประโยค ไม่ควรมากกว่านี้ และที่สำคัญไม่ควรกังวลในจุดนี้ว่าจะต้องทำให้บทภาพยนตร์ของเราถูกต้องในแง่ของเรื่องราว แต่ควรให้มันพัฒนาไปตามแนวทางของขั้นตอนการเขียนจะดีกว่าสิ่งแรกที่เราควรฝึกเขียนคือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เช่น เรื่องเกี่ยวกับความดีและความชั่วร้าย หรือเกี่ยวกับความรักของหนุ่มชาวกรุงกับหญิงบ้านนอก ความพยาบาทของปีศาจสาวที่ถูกฆาตกรรม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ความคิดที่ยังขาดแง่มุมของการเขียนว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป จึงต้องชัดเจนมากกว่านี้ โดยเริ่มที่ตัวละครหลักและแอ็คชั่น ดังนั้นประเด็นของเรื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญของจุดเริ่มต้นการเขียนบทภาพยนตร์อย่างไรก็ตาม การเขียนบทภาพยนตร์สำหรับนักเขียนหน้าใหม่ ควรค้นหาสิ่งที่น่าสนใจจากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวของนักเขียนเอง เขียงเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้ ทำให้ได้รายละเอียดในเชิงลึกของเนื้อหา เกิดความจริง สร้างความตื่นตะลึงได้ เช่นเรื่องในครอบครัว เรื่องของเพื่อนบ้าน เรื่องในที่ทำงาน ของตนเอง เรื่องในหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น

ดังนั้นขั้นตอนสำหรับการเขียนบทภาพยนตร์สามารถสรุปได้คือ1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research) เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise) หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นถ้า...” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น3. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis) คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment) 4. การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment) เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำหคัญ (premise) ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ5. บทภาพยนตร์ (screenplay) สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์หลัก (master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที6. บทถ่ายทำ (shooting script) คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง
7. บทภาพ (storyboard) คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย
การเขียนบทภาพยนตร์จากเรื่องสั้นการเขียนบทอาจเป็นเรื่องที่นำมาจากเรื่องจริง เรื่องดัดแปลง ข่าว เรื่องที่อยู่รอบ ๆ ตัว นวนิยาย เรื่องสั้น หรือได้แรงบันดาลใจจากความประทับใจในเรื่องราวหรือบางสิ่งที่คนเขียนบทได้สัมผัส เช่น ดนตรี บทเพลง บทกวี ภาพเขียน และอื่น ๆ ซึ่งบทภาพยนตร์ต่อไปนี้ได้แปลมาจากเรื่องสั้นในนิตยสาร The Mississippi Review โดย Robert Olen Butler เรื่อง Salem แต่ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงมาตรฐานรูปแบบการเขียนบทภาพยนตร์ว่ามีการเขียนและการจัดหน้าอย่างไร ขอให้ศึกษาได้ใบทภาพยนตร์
ที่มาขอขอบคุณ http://www.thaishortfilm.com/T013_screenplay.html



ปัจจัยสำคัญของภาพยนตร์สั้น 

1. ความยาว (Lenght)
.....ภาพยนตร์สั้นมักมีความยาวตั้งแต่ 1 – 30 นาที ขึ้นอยู่กับความพอดีและลงตัว
.....ความพอดี หรือความลงตัว อยู่ที่หนังสามารถตอบสนองเรื่องราวได้อย่างน่าพอใจหรือยัง
.....ความยาวจึงขึ้นอยู่กับผู้กำกับที่จะตัดสินใจว่า การเล่าเรื่องเกินพอดี หรือขาดความพอดีหรือไม่
ซึ่งการขาดความพอดี หรือการเกินความพอดี จะส่งผลให้หนังอืดอาดยืดยาด หรือหนังเร็วจนเรื่องขาดหายไป
ทำให้ดูไม่รู้เรื่อง
สำหรับหนังของมือใหม่มักมีข้อบกพร่อง คือ กังวลว่าคนดูจะไม่รู้เรื่อง จึงมักพูดมาก จนน่าเบื่อ หรือ
ความอ่อนประสบการณ์ทำให้ไม่สามารถแตกช็อตให้คนดูเข้าใจเรื่องได้
จึงกลายเป็นหนังที่ห้วนและดูไม่รู้เรื่อง


2. แก่นเรื่อง (Theme)
.....แก่นเรื่อง คือ สาระหรือจุดเป้าหมายที่เรากำลังพยายามเข้าถึง
.....แก่นเรื่อง คือ ความคิดลึกซึ้งที่เป็นนามธรรม หรือ ความคิดที่ยึดโครงสร้างของเรื่อง
และนำเสนอผ่านตัวละคร เป็นแอ๊กชั่นของการแสดงทั้งหมด
.....แก่นเรื่องเป็นศูนย์กลางความคิดหลักที่เกี่ยวกับเรื่องทั้งหมดที่ผู้กำกับต้องการสื่อสารกับคนดู
...........**สำคัญมาก**..........หนังสั้นควรมีความคิดหลักประการเดียว มิฉะนั้นจะทำให้เรื่องซับซ้อน
ต้องใช้วิธีเล่าเรื่องแบบหนังที่มีความยาวทั่วไป
.....ความคิดหลักไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับคนดูเสมอไป แต่ให้คนดูมีโอกาสไตร่ตรองสำรวจความคิดของตนเอง
เป็นการจุดจินตนาการและทำให้เกิดความคิดทางสติปัญญาขึ้น


3. ความขัดแย้ง (Conflict)
.....เป็นการกำหนดความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่งให้กับตัวละคร
หรือเป็นเป้าหมายที่ตัวละครต้องการจะไปให้ถึง
.....แล้วเรา (ผู้เขียนบท) จะสร้างอุปสรรคให้ตัวละครแก้ปัญหา หรือสร้างวิธีการต่าง ๆ
นานาให้ตัวละครไปสู่เป้าหมายอย่างยากเย็น
.....การสร้างความขัดแย้ง ผู้เขียนบทต้องเริ่มวางประเด็นของเรื่องไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะลงมือเขียนบท
เป็นประโยคสำคัญ
ความขัดแย้งมีหลายประเภท คือ
- ความขัดแย้งภายในจิตใจของตนเอง
- ความขัดแย้งระหว่างบุคคล
- ความขัดแย้งระหว่างคนกับสังคม
- ความขัดแย้งระหว่างคนกับธรรมชาติ

4. เหตุการณ์เดียว (One Primary Event)
.....เหตุการณ์หลักในหนังสั้น ควรมีเพียงเหตุการณ์เดียว ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
อาจจะกินระยะเวลาในหนังหลายวันหรือหลายอาทิตย์ก็ได้ ที่เป็นเช่นนี้ทำให้เนื้อเรื่องดูง่าย ไม่ซับซ้อน
มีความยาวไม่มากนัก
.....ใช้เหตุการณ์หลักที่เกิดขึ้นเพียงเหตุการณ์เดียวในการเล่าเรื่องเพื่อให้เหมาะสมกับเวลา

5. ตัวละครเดียว (One Major Character)
.....ตัวละครในภาพยนตร์ คือ การแสดงของคนที่มีบุคลิกลักษณะตามที่เราเลือกไว้
เพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการแสดง
.....ตัวละคร คือ มุมมอง หรือวิธีมองโลก (ซึ่งสามารถหมายถึง วิสัยทัศน์)
หรือวิธีที่ตัวละครมองโลกในแง่มุมต่าง ๆ
.....หนังสั้นจะใช้ตัวละครหลักเพียงตัวเดียว และผู้เขียนจำเป็นต้องสร้างให้ตัวละครให้มีความน่าสนใจ
และใช้ตัวละครหลักไปสัมพันธ์กับตัวละครอื่น หรือปัญหาอื่น
แล้วเปิดเผยให้คนดูเห็นบางสิ่งบางอย่างที่น่าตกใจ

6. ความต้องการ (Need & Want)
.....ความต้องการของตัวละคร คือ สิ่งที่ตัวละครอยากได้ อยากมี อยากเป็น ต้องการให้ได้มา
ต้องการบรรลุในสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระหว่างเนื้อหาของเรื่องราว
.....ผู้เขียนต้องกำหนดความต้องการของตัวละครก่อนเขียนบท โดยกำหนดว่า
.........อะไร ? คือความต้องการของตัวละคร
.....ความต้องการนี้จะเป็นตัวผลักดันตัวละคร ให้เกิดการกระทำ
จากนั้นผู้เขียนต้องสร้างอุปสรรคขัดขวางความต้องการนั้น
.........**สำคัญมาก**.........ความต้องการจะช่วยให้โครงเรื่องพัฒนาไปอย่างมีทิศทาง
.....ในหนังสั้นความต้องการของตัวละครหลักมักมีหลายระดับ

 7. โครงสร้างของบท (Structure)
.....โครงสร้าง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยกับทั้งหมด
.....ส่วนย่อยคือ แอ๊กชั่น , ตัวละคร , ฉาก , ตอน , องก์ (1,2,3) , เหตุการณ์ , สถานการณ์ , ดนตรี
สถานที่ ฯลฯ ส่วนย่อยทั้งหมดล้วนสร้างขึ้นเพื่อหลอมรวมเป็นเรื่อง
แล้วโครงสร้างจะเป็นตัวยึดทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกันเป็นภาพรวมทั้งหมด


8. ปูมหลัง (Backstory)
.....ปูมหลังของเรื่อง คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเรื่องในภาพยนตร์จะเกิด
เหตุการณ์ในอดีตจะส่งผลตรงกับอารมณ์ของตัวละครหลัก
.....ปูมหลังของเรื่องมีความสัมพันธ์กับความต้องการของตัวละคร
คนเขียนบทต้องกำหนดล่วงหน้าก่อนลงมือเขียนบท แต่ปูมหลังไม่จำเป็นต้องปรากฏอยู่ในบท
ที่มา : จากหนังสือ นัก สร้าง สร้าง หนัง หนัง สั้น ของ รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม



ข้อมูลเกี่ยวกับหารผลิตหนังสั้น

หนังสั้น คือ หนังยาวที่สั้น ก็คือการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงที่มีประเด็นเดียวสั้น ๆ แต่ได้ใจความ

ศิลปะการเล่าเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นนิทาน นิยาย ละคร หรือภาพยนตร์ ล้วนแล้วแต่มีรากฐานแบบเดียวกัน นั่นคือ การเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นของมนุษย์หรือสัตว์ หรือแม้แต่อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด ณ สถานที่ใดที่หนึ่งเสมอ ฉะนั้น องค์ประกอบที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ตัวละคร สถานที่ และเวลา

สิ่งที่สำคัญในการเขียนบทหนังสั้นก็คือ การเริ่มค้นหาวัตถุดิบหรือแรงบันดาลใจให้ได้ ว่าเราอยากจะพูด จะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับอะไร ตัวเราเองมีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างไร ซึ่งแรงบันดาลใจในการเขียนบทที่เราสามารถนำมาใช้ได้ก็คือ ตัวละคร แนวความคิด และเหตุการณ์ และควรจะมองหาวัตถุดิบในการสร้างเรื่องให้แคบอยู่ในสิ่งที่เรารู้สึก รู้จริง เพราะคนทำหนังสั้นส่วนใหญ่ มักจะทำเรื่องที่ไกลตัวหรือไม่ก็ไกลเกินไปจนทำให้เราไม่สามารถจำกัดขอบเขตได้

เมื่อเราได้เรื่องที่จะเขียนแล้วเราก็ต้องนำเรื่องราวที่ได้มาเขียน Plot (โครงเรื่อง) ว่าใคร ทำอะไร กับใคร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร เพราะอะไร และได้ผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ข้อมูล หรือวัตถุดิบที่เรามีอยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนว่ามีแนวคิดมุมมองต่อชีวิตคนอย่างไร เพราะความเข้าใจในมนุษย์ ยิ่งเราเข้าใจมากเท่าไร เราก็ยิ่งทำหนังได้ลึกมากขึ้นเท่านั้น

และเมื่อเราได้เรื่อง ได้โครงเรื่องมาเรียบร้อยแล้ว เราก็นำมาเป็นรายละเอียดของฉาก ว่ามีกี่ฉากในแต่ละฉากมีรายละเอียดอะไรบ้าง เช่นมีใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ไปเรื่อย ๆ จนจบเรื่อง ซึ่งความจริงแล้วขั้นตอนการเขียนบทไม่ได้มีอะไรยุ่งยากมากมาย เพราะมีการกำหนดเป็นแบบแผนไว้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ยาก มาก ๆ ก็คือกระบวนการคิด ว่าคิดอย่างไรให้ลึกซึ้ง คิดอย่างไรให้สมเหตุสมผล ซึ่งวิธีคิดเหล่านี้ไม่มีใครสอนกันได้ทุกคน ต้องค้นหาวิธีลองผิดลองถูก จนกระทั่ง ค้นพบวิธีคิดของตัวเอง

การเตรียมการและการเขียนบทภาพยนตร์
การเขียนบทภาพยนตร์เริ่มต้นที่ไหน เป็นคำถามที่มักจะได้ยินเสมอสำหรับผู้ที่เริ่มหัดเขียนบทภาพยนตร์ใหม่ ๆ เช่น ควรเริ่มช็อตแรก เห็นยานอวกาศลำใหญ่แล่นเข้ามาขอบเฟรมบนแล้วเลยไปสู่แกแล็กซี่เบื้องหน้าเพื่อให้เห็นความยิ่งใหญ่ของจักรวาล หรือเริ่มต้นด้วยรถที่ขับไล่ล่ากันกลางเมืองเพื่อสร้างความตื่นเต้นดี หรือเริ่มต้นด้วยความเงียบมีเสียงหัวใจเต้นตึกตัก ๆ ดี หรือเริ่มต้นด้วยความฝันหรือเริ่มต้นที่ตัวละครหรือเหตุการณ์ดี เหล่านี้เป็นต้น บางคนบอกว่ามีโครงเรื่องดี ๆ แต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไร
การเริ่มต้นเขียนบทภาพยนตร์ เราต้องมีเป้าหมายหลักหรือเนื้อหาเป็นจุดเริ่มต้นการเขียน เราเรียกว่าประเด็น (Subject) ของเรื่อง ที่ต้องชัดเจนแน่นอน มีตัวละครและแอ็คชั่น ดังนั้น นักเขียนควรเริ่มต้นจากจุดนี้พร้อมด้วยโครงสร้าง (Structure) ของบทภาพยนตร์
ประเด็นอาจเป็นสิ่งที่ง่าย ๆ เช่น มนุษย์ต่างดาวเข้ามาเยือนโลกแล้วพลัดพลาดจากยานอวกาศของตน ไม่สามารถกลับดวงดาวของตัวเองได้ จนกระทั่งมีเด็ก ๆ ไปพบเข้าจึงกลายเป็นเพื่อนรักกัน และช่วยพาหลบหนีจากอันตรายกลับไปยังยานของตนได้ นี่คือเรื่อง E.T. – The Extra-Terrestrial (1982) หรือประเด็นเป็นเรื่องของนักมวยแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทที่สูญเสียตำแหน่งและต้องการเอากลับคืนมา คือเรื่อง Rocky III หรือนักโบราณคดีค้นพบโบราณวัตถุสำคัญที่หายไปหลายศตวรรษ คือเรื่อง Raider of the Lost Ark (1981) เป็นต้น
การคิดประเด็นของเรื่องในบทภาพยนตร์ของเราว่าคืออะไร ให้กรองแนวความคิดจนเหลือจุดที่สำคัญมุ่งไปที่ตัวละครและแอ็คชั่น แล้วเขียนให้ได้สัก 2-3 ประโยค ไม่ควรมากกว่านี้ และที่สำคัญไม่ควรกังวลในจุดนี้ว่าจะต้องทำให้บทภาพยนตร์ของเราถูกต้องในแง่ของเรื่องราว แต่ควรให้มันพัฒนาไปตามแนวทางของขั้นตอนการเขียนจะดีกว่า
สิ่งแรกที่เราควรฝึกเขียนคือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เช่น เรื่องเกี่ยวกับความดีและความชั่วร้าย หรือเกี่ยวกับความรักของหนุ่มชาวกรุงกับหญิงบ้านนอก ความพยาบาทของปีศาจสาวที่ถูกฆาตกรรม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ความคิดที่ยังขาดแง่มุมของการเขียนว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป จึงต้องชัดเจนมากกว่านี้ โดยเริ่มที่ตัวละครหลักและแอ็คชั่น ดังนั้นประเด็นของเรื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญของจุดเริ่มต้นการเขียนบทภาพยนตร์
อย่างไรก็ตาม การเขียนบทภาพยนตร์สำหรับนักเขียนหน้าใหม่ ควรค้นหาสิ่งที่น่าสนใจจากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวของนักเขียนเอง เขียงเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้ ทำให้ได้รายละเอียดในเชิงลึกของเนื้อหา เกิดความจริง สร้างความตื่นตะลึงได้ เช่นเรื่องในครอบครัว เรื่องของเพื่อนบ้าน เรื่องในที่ทำงาน ของตนเอง เรื่องในหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น

 

ดังนั้นขั้นตอนสำหรับการเขียนบทภาพยนตร์สามารถสรุปได้คือ

1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research) เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น  คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม

2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise) หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นถ้า...” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น

3. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis) คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)

4. การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment) เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำหคัญ (premise)  ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ

5. บทภาพยนตร์ (screenplay) สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์หลัก (master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที

6. บทถ่ายทำ (shooting script) คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง

7. บทภาพ (storyboard) คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ      เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย

การเขียนบทภาพยนตร์จากเรื่องสั้น
การเขียนบทอาจเป็นเรื่องที่นำมาจากเรื่องจริง เรื่องดัดแปลง ข่าว เรื่องที่อยู่รอบ ๆ ตัว นวนิยาย   เรื่องสั้น หรือได้แรงบันดาลใจจากความประทับใจในเรื่องราวหรือบางสิ่งที่คนเขียนบทได้สัมผัส เช่น ดนตรี บทเพลง บทกวี ภาพเขียน และอื่น ๆ ซึ่งบทภาพยนตร์ต่อไปนี้ได้แปลมาจากเรื่องสั้นในนิตยสาร The Mississippi Review โดย Robert Olen Butler เรื่อง Salem แต่ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงมาตรฐานรูปแบบการเขียนบทภาพยนตร์ว่ามีการเขียนและการจัดหน้าอย่างไร ขอให้ศึกษาได้ใบทภาพยนตร์โดยทั่วไป